Tuesday, October 28, 2014
นาฬิกาปลุก ฟรี สำหรับ Windows
แนะนำโปรแกรมนาฬิกาปลุก ผมเทรดกราฟ 1 ชั่วโมง ก็ตั้งนกร้อง 1 นาทีก่อนขึ้นแท่งเทียนใหม่ครับ
http://freealarmclocksoftware.com/
Wednesday, October 22, 2014
เลือกโบรกเกอร์อย่างไรดี
ขอเรียงลำดับตามความสำคัญในมุมมองผมครับ
1. หน่วยงานดูแล (Regulatory Compliance)
นี่เป็นสิ่งแรกเลยที่ทุกคนควรอ่านให้ดีก่อนตัดสินใจจะใช้โบรกเกอร์ไหน สิ่งที่มันบอกเรามีคีย์หลัก 2 เรื่อง
1.1 ความมั่นใจว่า ประเทศ ผู้ดูแลจะไม่ล้มละลาย เพราะหากประเทศล้มละลาย หนี้ทุกบาทและเงินลงทุนจากภายนอกทุกสตางค์ จะศูนย์หมดครับ ลองเซิช Sovereign Default ดูถ้าสนใจอ่านเพิ่มเติม
1.2 หากดูแลโดยหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน โบรกเกอร์จะไม่แตะต้องเงินของเรา
หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าเมื่อโอนเงินเข้าไปแล้ว บัญชีที่เก็บเงินนั้นๆ ไว้ จะเข้าถึงได้โดยตัวเราเองเท่านั้น เราฝากเอง ถอนเอง โบรกเกอร์ไม่มีสิทธิ์ถอนให้หรือนำเงินเราไปทำธุรกรรมใดทั้งสิ้น
ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง Oanda ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา
http://www.oanda.com/corp/story/regulatory
จากภาพ เราพอจะสรุปหน่วยงานที่ดูแล ในประเทศที่น่าเชื่อถือได้ดังนี้
อเมริกา - U.S. Commodity Futures Trading Commission หรือ CFTC
อังกฤษ - Financial Conduct Authority หรือ FCA
ออสเตรเลีย - Australian Securities and Investment Commission หรือ ASIC
สิงคโปร์ - Monetary Authority of Singapore หรือ MAS
แคนาดา - Investment Industry Regulatory Organization of Canada หรือ IIROC
ญี่ปุ่น - โอกาสเปิดบัญชีกับญี่ปุ่นน่าจะน้อย ด้วยกำแพงภาษา
ตัวอย่าง Pepperstone และ FxPro ซึ่งผมใช้อยู่
การที่โบรกเกอร์ตั้งอยู่ในประเทศที่ดี ยังไม่พอนะครับ
สมมุติโบรกเกอร์ตั้งอยู่ออสเตรเลีย แต่ถ้าไม่ได้รับการ regulate
ก็ไม่ได้ต่างจากโบรกเกอร์เถื่อนที่ตั้งอยู่ในเกาะลึกลับกลางทะเล
ทีนี้ลองดูภาพนี้ครับ
CySEC เป็นของประเทศ Cyprus - http://www.cysec.gov.cy/licence_members_1_en.aspx
ซึ่งประเทศ Cyprus ถูกจัดอยู่ในระดับ Caa3 คือ คุณภาพต่ำ และสุ่มเสี่ยงมาก
http://www.usatoday.com/story/money/business/2014/07/31/countries-near-bankruptcy/13435097/
หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ อย่าลืมครับเราต้องวางตัวเราให้เป็นนักลงทุน เป็นนักธุรกิจ ต้องให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือให้มาก เพื่อปกป้องเงินทุนของเราครับ
1. หน่วยงานดูแล (Regulatory Compliance)
นี่เป็นสิ่งแรกเลยที่ทุกคนควรอ่านให้ดีก่อนตัดสินใจจะใช้โบรกเกอร์ไหน สิ่งที่มันบอกเรามีคีย์หลัก 2 เรื่อง
1.1 ความมั่นใจว่า ประเทศ ผู้ดูแลจะไม่ล้มละลาย เพราะหากประเทศล้มละลาย หนี้ทุกบาทและเงินลงทุนจากภายนอกทุกสตางค์ จะศูนย์หมดครับ ลองเซิช Sovereign Default ดูถ้าสนใจอ่านเพิ่มเติม
1.2 หากดูแลโดยหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน โบรกเกอร์จะไม่แตะต้องเงินของเรา
หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าเมื่อโอนเงินเข้าไปแล้ว บัญชีที่เก็บเงินนั้นๆ ไว้ จะเข้าถึงได้โดยตัวเราเองเท่านั้น เราฝากเอง ถอนเอง โบรกเกอร์ไม่มีสิทธิ์ถอนให้หรือนำเงินเราไปทำธุรกรรมใดทั้งสิ้น
ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง Oanda ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา
http://www.oanda.com/corp/story/regulatory
จากภาพ เราพอจะสรุปหน่วยงานที่ดูแล ในประเทศที่น่าเชื่อถือได้ดังนี้
อเมริกา - U.S. Commodity Futures Trading Commission หรือ CFTC
อังกฤษ - Financial Conduct Authority หรือ FCA
ออสเตรเลีย - Australian Securities and Investment Commission หรือ ASIC
สิงคโปร์ - Monetary Authority of Singapore หรือ MAS
แคนาดา - Investment Industry Regulatory Organization of Canada หรือ IIROC
ญี่ปุ่น - โอกาสเปิดบัญชีกับญี่ปุ่นน่าจะน้อย ด้วยกำแพงภาษา
ตัวอย่าง Pepperstone และ FxPro ซึ่งผมใช้อยู่
![]() |
Pepperstone |
![]() |
FxPro |
สมมุติโบรกเกอร์ตั้งอยู่ออสเตรเลีย แต่ถ้าไม่ได้รับการ regulate
ก็ไม่ได้ต่างจากโบรกเกอร์เถื่อนที่ตั้งอยู่ในเกาะลึกลับกลางทะเล
ทีนี้ลองดูภาพนี้ครับ
CySEC เป็นของประเทศ Cyprus - http://www.cysec.gov.cy/licence_members_1_en.aspx
ซึ่งประเทศ Cyprus ถูกจัดอยู่ในระดับ Caa3 คือ คุณภาพต่ำ และสุ่มเสี่ยงมาก
http://www.usatoday.com/story/money/business/2014/07/31/countries-near-bankruptcy/13435097/
หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ อย่าลืมครับเราต้องวางตัวเราให้เป็นนักลงทุน เป็นนักธุรกิจ ต้องให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือให้มาก เพื่อปกป้องเงินทุนของเราครับ
Friday, October 17, 2014
TMS Part 4: Exit Strategy
การเทรดแบบ TMS ไม่ได้ระบุการวาง SL/TP ไว้ชัดเจน เทรดเดอร์หลายๆ คนใช้วิธีแตกต่างกันออกไป ในที่นี้ผมขอแนะนำ 2-3 วิธีที่มีคนใช้กับ TMS ให้ลองเลือกไปใช้กันดู แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน บางอันอาจจับ pips ได้เยอะ แต่ก็อาจเสียเยอะ บางอันจับ pips ได้น้อยแต่ไม่ค่อยเสีย
สิ่งสำคัญคือ ความสม่ำเสมอ ครับ ถ้าเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในระยะยาวผมเชื่อว่าผลได้-เสียจะเฉลี่ยๆ ออกมาไม่ต่างกัน
เป็นวิธีของ Dean Malon
เมื่อเกิดสัญญาณ เขาจะวาง SL ไว้หลังแท่งสัญญาณ
เมื่อขึ้นแท่งเทียนใหม่ เขาจะเลื่อน stop ตามหลังแท่งเทียนอันก่อนล่าสุดไปเรื่อยๆ
ข้อดีคือมีโอกาสจับ move ยาวๆ ได้ แต่ถ้ามันวิ่งยาวแล้วกลับตัวในแท่งเดียวนี่ก็แย่หน่อย อาจจะอดหมด
ปกติผมจะ Trail แบบนี้ควบคู่กับวาง TP ด้วย
เป็นวิธีของ Big E เขาจะปิดออเดอร์เมื่อ TDI เขียวหักมุมกลับไปอีกทาง
Big E ไม่สนใจ SL นัก เขาตั้งไว้ 50-100 pips เผื่อฉุกเฉินเท่านั้น
ส่วนตัวผมไม่ได้ใช้วิธีนี้
เป็นวิธีที่ผมคุ้นเคยที่สุดจากการเทรด Price Action และ Fundamentals คือลองมองไปทางซ้ายมือว่ามีแนวรับแนวต้านอะไรไหมแล้ววาง TP ไว้แนวเดียวกัน
S/R = Support/Resistance แนวรับแนวต้าน ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร ลอง google ดูนะครับ
ผมไม่ได้มีหลักเกณฑ์เป๊ะๆ ว่าต้องวางตรงหาง ตรงหัว แต่อย่างใด แค่มองผ่านๆ แล้วกะคร่าวๆ เอาเท่านั้น เช่นตัวอย่างนี้ มองแว้บเดียวก็จะเห็นว่ามีแนวเป้าหมายที่เป็นไปได้ 2 แนว ซึ่งเราจะเลือกใช้แนวไหนก็ขึ้นอยู่กับเรา
โดยส่วนตัวผมอยากปิดออเดอร์เร็วๆ จะได้ไปทำอย่างอื่น ก็จะวาง TP ไว้ที่แนวเขียวครับ
เป็นวิธีที่ก๊วน TMS ผมใช้กัน โหลดอินดี้ได้จากที่นี่
https://www.dropbox.com/s/qvws12f4hcecmfe/TmaTrue.mq4?dl=0
โดยตั้ง eint Half Length = 40 และจะปรับ multiplier ให้เหมาะสม
ภาพนี้ multiplier = 2.0 ซึ่งเป็นค่า default ถ้าเราจะ buy ส่วนสีเหลืองดูเป็นเป้าหมายที่ดี จริงไหมครับ
ในกรณีนี้ผมจะลอง ปรับ modifier ดู จาก 2 เป็น 1.75 ... เป็น 1.50 ... จนมาแตะพอดีที่ 1.2
ซึ่งการเอากำไร คือจุดที่ราคากลับมาแตะ TMA เส้นบนนั่นเอง
ลืมไปอันนึงขอเพิ่มเติม
เป็นวิธีที่ฮิตมากในกระทู้ TMS บน FOREX Factory ซึ่งการตั้งก็จะขึ้นอยู่กับอันตราการเคลื่อนไหวของคู่นั้นๆ
ถ้าเป็นคู่ที่ขยับไม่มาก อย่าง EURUSD อาจจะอยู่ที่ 30 pips
ถ้าเป็นคู่ขยับมาก อาจตั้งได้ตั้งแต่ 50 ถึง 100 เช่น GBPNZD
...
...
คร่าวๆ ก็ตามนี้ครับ :) โดยส่วนตัวผมจะใช้ 1, 3 และ 4 รวมกันครับ
ลำดับต่อไป มาดูการใช้ TMA เพิ่มเติมดีกว่าครับ เพราะเป็นวิธีหลักที่ก๊วนผมใช้อยู่ เลยคิดว่าพูดถึงอีกหน่อยก็น่าจะดี
Next > Part 5: TMA True
Back > สารบัญ
สิ่งสำคัญคือ ความสม่ำเสมอ ครับ ถ้าเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในระยะยาวผมเชื่อว่าผลได้-เสียจะเฉลี่ยๆ ออกมาไม่ต่างกัน
1. Trail Stop Last Bar
เป็นวิธีของ Dean Malon
เมื่อเกิดสัญญาณ เขาจะวาง SL ไว้หลังแท่งสัญญาณ
เมื่อขึ้นแท่งเทียนใหม่ เขาจะเลื่อน stop ตามหลังแท่งเทียนอันก่อนล่าสุดไปเรื่อยๆ
ข้อดีคือมีโอกาสจับ move ยาวๆ ได้ แต่ถ้ามันวิ่งยาวแล้วกลับตัวในแท่งเดียวนี่ก็แย่หน่อย อาจจะอดหมด
ปกติผมจะ Trail แบบนี้ควบคู่กับวาง TP ด้วย
2. TDI Exit
เป็นวิธีของ Big E เขาจะปิดออเดอร์เมื่อ TDI เขียวหักมุมกลับไปอีกทาง
Big E ไม่สนใจ SL นัก เขาตั้งไว้ 50-100 pips เผื่อฉุกเฉินเท่านั้น
ส่วนตัวผมไม่ได้ใช้วิธีนี้
3. S/R Exit
เป็นวิธีที่ผมคุ้นเคยที่สุดจากการเทรด Price Action และ Fundamentals คือลองมองไปทางซ้ายมือว่ามีแนวรับแนวต้านอะไรไหมแล้ววาง TP ไว้แนวเดียวกัน
S/R = Support/Resistance แนวรับแนวต้าน ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร ลอง google ดูนะครับ
![]() |
ใช้ปลายแท่งทางซ้ายเป็น S/R |
![]() |
ทำนองเดียวกัน ใช้ S/R จากด้านซ้ายมือ |
ผมไม่ได้มีหลักเกณฑ์เป๊ะๆ ว่าต้องวางตรงหาง ตรงหัว แต่อย่างใด แค่มองผ่านๆ แล้วกะคร่าวๆ เอาเท่านั้น เช่นตัวอย่างนี้ มองแว้บเดียวก็จะเห็นว่ามีแนวเป้าหมายที่เป็นไปได้ 2 แนว ซึ่งเราจะเลือกใช้แนวไหนก็ขึ้นอยู่กับเรา
โดยส่วนตัวผมอยากปิดออเดอร์เร็วๆ จะได้ไปทำอย่างอื่น ก็จะวาง TP ไว้ที่แนวเขียวครับ
4. TMA True
เป็นวิธีที่ก๊วน TMS ผมใช้กัน โหลดอินดี้ได้จากที่นี่
https://www.dropbox.com/s/qvws12f4hcecmfe/TmaTrue.mq4?dl=0
โดยตั้ง eint Half Length = 40 และจะปรับ multiplier ให้เหมาะสม
ภาพนี้ multiplier = 2.0 ซึ่งเป็นค่า default ถ้าเราจะ buy ส่วนสีเหลืองดูเป็นเป้าหมายที่ดี จริงไหมครับ
ในกรณีนี้ผมจะลอง ปรับ modifier ดู จาก 2 เป็น 1.75 ... เป็น 1.50 ... จนมาแตะพอดีที่ 1.2
ซึ่งการเอากำไร คือจุดที่ราคากลับมาแตะ TMA เส้นบนนั่นเอง
ลืมไปอันนึงขอเพิ่มเติม
5. Fixed Target
เป็นวิธีที่ฮิตมากในกระทู้ TMS บน FOREX Factory ซึ่งการตั้งก็จะขึ้นอยู่กับอันตราการเคลื่อนไหวของคู่นั้นๆ
ถ้าเป็นคู่ที่ขยับไม่มาก อย่าง EURUSD อาจจะอยู่ที่ 30 pips
ถ้าเป็นคู่ขยับมาก อาจตั้งได้ตั้งแต่ 50 ถึง 100 เช่น GBPNZD
...
...
คร่าวๆ ก็ตามนี้ครับ :) โดยส่วนตัวผมจะใช้ 1, 3 และ 4 รวมกันครับ
ลำดับต่อไป มาดูการใช้ TMA เพิ่มเติมดีกว่าครับ เพราะเป็นวิธีหลักที่ก๊วนผมใช้อยู่ เลยคิดว่าพูดถึงอีกหน่อยก็น่าจะดี
Next > Part 5: TMA True
Back > สารบัญ
Thursday, October 09, 2014
TMS Part 3: Synergy Bar (Heikin Ashi)
Heikin Ashi หรือย่อว่า HA แปลว่า แท่งเฉลี่ย เนื่องจากเป็นภาษาญี่ปุ่น (平均足) ผมเลยเดาเอาเองนะว่าคงมีต้นกำเนิดมากจากทางโน้น หลักการทำงานคล้ายๆ MA คือมีการหารเฉลี่ยค่าต่างๆ จากแท่งเทียนหลายแท่ง เพียงแต่จะไม่ได้ลากเป็นกราฟ แต่สร้างเป็นแท่งทับกราฟไปเลย
ในนี้มีสูตรคำนวณอยู่สำหรับผู้สนใจ
http://en.wikipedia.org/wiki/Candlestick_chart#Heikin_Ashi_candlesticks
HA นั้นยังมีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อ เผื่อไปเห็นที่อื่นจะได้ไม่งงนะครับว่าคืออันเดียวกัน ได้แก่
1. Synergy Bar... Synergy เป็นชื่อระบบเทรดของ Dean Malone เฮียแกก็เลยเรียกมันว่างั้นซะเลย และ
2. Average Price Bar หรือ APB
เวลาที่เราวาง Heikin Ashi ลงไปบนกราฟ มันจะวาดแท่งใหม่ทับของเดิมที่อยู่ข้างใต้ เป็นเหตุผลนึงที่ผมชอบใช้ Bar Chart เพราะมันจะมีหัวเล็กๆ ยื่นออกมาบอกจุดเปิด-ปิดแท่งได้
สำหรับ TMS นั้น เราจะใช้วิธีการ นับแท่งเมื่อเปลี่ยนสี ครับ ตัวอย่าง
เมื่อแท่งเปลี่ยนสี ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนทิศทาง และแน่นอนว่าเราอยากเข้าเทรดตั้งแต่แท่งแรกๆ โดยมีข้อควรระวังดังนี้
- คล้ายๆ TDI คือตอนแท่งยังไม่ปิด มันเปลี่ยนสีได้ จึงควรรอให้แท่ง 1 ปิดเสียก่อนเพื่อคอนเฟิร์มสี
- เราอยากเข้าเทรดเมื่อ เปิดแท่ง 2 ไม่เกินนั้น... โดยในบางกรณีพออนุโลมให้เข้าแท่ง 3 อันนี้ต้องว่าเป็นกรณีๆ ไป
- บางทฤษฎีบอกว่าถ้าแท่งมันเล็กเกินไป หรือเป็น Doji เขาจะไม่นับ... อันนี้แล้วแต่พิจารณาครับ
ตัวอย่าง
จากซ้ายไปขวา
- เมื่อ ฟ้า1 ปิด เขียวก็ไขว้แดงแล้วเรียบร้อย (CLOSE cross) ถ้าเราจะเทรด เราจะเข้าที่ วง1 แต่อย่างที่เห็นว่าการไขว้นั้นเกิดต่ำมาก เราอาจจะข้ามเทรดนี้ไป
- เมื่อแดง1 ปิด ยังไม่มีการไขว้กันเกิดขึ้น
--- การไขว้แบบ CLOSE เกิดหลังแดง2 ถ้าเราเทรด เราจะเปิดเทรดที่แดง3 ซึ่งถือว่าไม่ดี
--- หรืออาจจะเกิดการไขว้แบบ OPEN ที่ต้นแดง2 ... แบบนี้เราก็จะเข้าขายเมื่อเริ่ม แดง2 ได้เช่นกันเพราะ TDI ดูดีทุกอย่าง
น่าเสียดายที่เราไม่สามารถดู history OPEN cross ได้ จึงต้องใช้จินตนาการนิดนึงครับ
เรื่องต่อมาก็คือทิศทางที่ชัดเจน ระหว่างที่กราฟติดแหง่กแบบนี้ ไม่ควรเทรด
เราควรรอให้กราฟแสดงทิศทางให้เราเสียก่อน อย่าไปคิดเสียดาย break out ครับ ปล่อยมันไป ตัวอย่าง
#1 ในช่วงนั้นเป็นแท่งเล็กๆ วิ่งด้านข้าง มุมเขียวก็แบนมาก อย่าเพิ่งเทรด
#2 ราคาเริ่มแสดงทิศทางลงข้างล่าง ไม่มีการไขว้ อย่าเพิ่งเทรด
#3 คือสิ่งที่เรารออยู่ สัญญาณ CLOSE เมื่อปิดแดง1 ทิศเดียวกับที่กราฟแสดงให้เราดู
....
....
ดังนี้ TDI และ HA เมื่อใช้ร่วมกัน คือสัญญาณหลักของระบบ TMS
แต่เนื่องจากในระบบนี้ไม่ได้มี exit strategy กำหนดไว้ตายตัว ในส่วนต่อไปเราจะมาดูทางเลือกของเรากันนะครับ
สิ่งสำคัญ คือ ถ้าเราเลือก exit strategy อย่างใดอย่างนึงแล้ว พยายามอย่าไปเปลี่ยนครับ ความสม่ำเสมอคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าเราจะเทรดระบบใดก็ตาม
Next > Part 4: Exit Strategy
กลับไปหน้าสารบัญ
ในนี้มีสูตรคำนวณอยู่สำหรับผู้สนใจ
http://en.wikipedia.org/wiki/Candlestick_chart#Heikin_Ashi_candlesticks
HA นั้นยังมีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อ เผื่อไปเห็นที่อื่นจะได้ไม่งงนะครับว่าคืออันเดียวกัน ได้แก่
1. Synergy Bar... Synergy เป็นชื่อระบบเทรดของ Dean Malone เฮียแกก็เลยเรียกมันว่างั้นซะเลย และ
2. Average Price Bar หรือ APB
เวลาที่เราวาง Heikin Ashi ลงไปบนกราฟ มันจะวาดแท่งใหม่ทับของเดิมที่อยู่ข้างใต้ เป็นเหตุผลนึงที่ผมชอบใช้ Bar Chart เพราะมันจะมีหัวเล็กๆ ยื่นออกมาบอกจุดเปิด-ปิดแท่งได้
สำหรับ TMS นั้น เราจะใช้วิธีการ นับแท่งเมื่อเปลี่ยนสี ครับ ตัวอย่าง
เมื่อแท่งเปลี่ยนสี ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนทิศทาง และแน่นอนว่าเราอยากเข้าเทรดตั้งแต่แท่งแรกๆ โดยมีข้อควรระวังดังนี้
- คล้ายๆ TDI คือตอนแท่งยังไม่ปิด มันเปลี่ยนสีได้ จึงควรรอให้แท่ง 1 ปิดเสียก่อนเพื่อคอนเฟิร์มสี
- เราอยากเข้าเทรดเมื่อ เปิดแท่ง 2 ไม่เกินนั้น... โดยในบางกรณีพออนุโลมให้เข้าแท่ง 3 อันนี้ต้องว่าเป็นกรณีๆ ไป
- บางทฤษฎีบอกว่าถ้าแท่งมันเล็กเกินไป หรือเป็น Doji เขาจะไม่นับ... อันนี้แล้วแต่พิจารณาครับ
ตัวอย่าง
- เมื่อ ฟ้า1 ปิด เขียวก็ไขว้แดงแล้วเรียบร้อย (CLOSE cross) ถ้าเราจะเทรด เราจะเข้าที่ วง1 แต่อย่างที่เห็นว่าการไขว้นั้นเกิดต่ำมาก เราอาจจะข้ามเทรดนี้ไป
- เมื่อแดง1 ปิด ยังไม่มีการไขว้กันเกิดขึ้น
--- การไขว้แบบ CLOSE เกิดหลังแดง2 ถ้าเราเทรด เราจะเปิดเทรดที่แดง3 ซึ่งถือว่าไม่ดี
--- หรืออาจจะเกิดการไขว้แบบ OPEN ที่ต้นแดง2 ... แบบนี้เราก็จะเข้าขายเมื่อเริ่ม แดง2 ได้เช่นกันเพราะ TDI ดูดีทุกอย่าง
น่าเสียดายที่เราไม่สามารถดู history OPEN cross ได้ จึงต้องใช้จินตนาการนิดนึงครับ
เรื่องต่อมาก็คือทิศทางที่ชัดเจน ระหว่างที่กราฟติดแหง่กแบบนี้ ไม่ควรเทรด
เราควรรอให้กราฟแสดงทิศทางให้เราเสียก่อน อย่าไปคิดเสียดาย break out ครับ ปล่อยมันไป ตัวอย่าง
#1 ในช่วงนั้นเป็นแท่งเล็กๆ วิ่งด้านข้าง มุมเขียวก็แบนมาก อย่าเพิ่งเทรด
#2 ราคาเริ่มแสดงทิศทางลงข้างล่าง ไม่มีการไขว้ อย่าเพิ่งเทรด
#3 คือสิ่งที่เรารออยู่ สัญญาณ CLOSE เมื่อปิดแดง1 ทิศเดียวกับที่กราฟแสดงให้เราดู
....
....
ดังนี้ TDI และ HA เมื่อใช้ร่วมกัน คือสัญญาณหลักของระบบ TMS
แต่เนื่องจากในระบบนี้ไม่ได้มี exit strategy กำหนดไว้ตายตัว ในส่วนต่อไปเราจะมาดูทางเลือกของเรากันนะครับ
สิ่งสำคัญ คือ ถ้าเราเลือก exit strategy อย่างใดอย่างนึงแล้ว พยายามอย่าไปเปลี่ยนครับ ความสม่ำเสมอคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าเราจะเทรดระบบใดก็ตาม
Next > Part 4: Exit Strategy
กลับไปหน้าสารบัญ
Saturday, October 04, 2014
TMS Part 2: สัญญาณเปิดเทรด
การวิเคราะห์ด้วยระบบ TMS นั้น เริ่มต้นด้วยการมองหาการไขว้กันของเขียวและแดง เมื่อแท่งเทียนปิด ถ้ามีการไขว้กันสวยๆ เกิดขึ้น เราค่อยพิจารณาสิ่งอื่นๆ แต่ถ้าไม่ไขว้ หรือไขว้ไม่สวย เราก็ข้ามกราฟนั้นไปได้
สัญญาณสวยไม่สวย ดูไม่ยากครับ ถ้าดูเป็นแล้วมองแว้บเดียวก็พอได้
การเทรด เราจะเทรดในทิศทางเดียวกับเขียว
ที่ต้องระวังคือ ระหว่างที่แท่งเทียนยังไม่ปิด TDI ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการพิจารณาสัญญาณ จึงควรรอให้แท่งเทียนปิดเสียก่อน
ทีนี้ถ้าเราเทรดทุกครั้งที่เขียวแดงไขว้กัน มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอครับ
เช่นในกราฟนี้ ไขว้กัน 5 ครั้ง กำไรครั้งเดียว ขาดทุนถึง 4
นี่แหละครับเราถึงต้องดูให้ออกว่าอันไหนคือไขว้สวย ไขว้ไม่สวย
ซึ่งก้าวแรก คือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า TDI กำลังบอกอะไรเรา
TDI คิดค้นขึ้นโดย Dean Malone แห่ง Compass FX
Dean พัฒนา TDI ขึ้นมาจาก RSI เขาต้องการอินดี้ที่บอก 3 สิ่ง ได้แก่ Momentum, Trend และ Signal จึงออกมาเป็น เขียว (Momentum), เหลือง (Trend) และแดง (Signal) วิธีการคำนวณเป็นอย่างไรผมก็ไม่เคยศึกษานะครับหากสนใจคงต้องลองหากันเอง
Dean ทำวิดีโออธิบาย TDI ไว้เช่นกัน ลองไปดูได้ครับ คลิ๊กเมนู Traders Dynamic Index ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ 4 ทางซ้ายมือ โดยอย่าลืมว่าวิธีเทรดของเขาต่างกับ TMS
http://www.compassfx.com/synergy/webinar/Basic_Synergy_Method/Basic_Synergy_Method.html
อย่างแรกที่เราจะดูกัน ก็คือมุมของเส้นเขียว
อันนี้อาจจะหามาตรฐานยากสักหน่อย เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ตามขนาดหน้าต่างและระดับการซูมของเรา แต่ไอเดียคือ ยิ่งเส้นเขียวทำองศาขึ้น/ลงมาก ก็ยิ่งมีแรงส่งมาก ลองมองย้อนกลับไปแล้วเปรียบเทียบมุมดูครับ
ต่อมาคือระดับ 32, 50 และ 68 ใครใช้ อินดี้ TDI_RT ที่ผมให้ไว้ จะมีวางเส้นประไว้แล้ว
ระดับของเส้นสีเขียว บ่งบอก Momentum ว่าราคามีแนวโน้มจะไปทางไหน
- ต่ำกว่า 50 = Momentum ขาลง
- สูงกว่า 50 = Momentum ขาขึ้น
แต่ถ้าเส้นสีเขียวออกห่างจากแนว 50 จนเกินไป จะเข้าโซน Overbought/Oversold
ลองมาดูตัวอย่างกันครับว่าความรู้ข้างต้นบอกอะไรเราได้
สมมุติเกิดการไขว้ขึ้นข้างบน เป็นสัญญาณ Buy ที่ระดับต่างๆ กั
1 - เส้นสีเขียวอยู่ต่ำมาก แปลว่า Momentum กำลังลง ดังนั้นจึงไม่ใช่สัญญาณ Buy ที่ดี
2 - เส้นสีเขียวตัดขึ้นหาแนว 50 มีพื้นที่เหลือเฟือกว่าจะถึง 68
3 - เส้นสีเขียวแม้จะอยู่เหนือ 50 แต่ก็สูงเกินไปจน overbought แล้ว
ดังนั้นสัญญาณที่ถือว่าสวย คือ 2 เท่านั้น ไม่ยากใช่ไหมครับ
นอกจากนั้นแล้ว เราสามารถใช้เส้นแดงและเหลืองมาช่วยเพิ่มโอกาสกำไรของเราได้
เริ่มจากเส้นแดงก่อน การเทรดไปในทิศทางเดียวกับแดงมีโอกาสสำเร็จมากกว่า
#1 - จะเห็นว่าแดงเริ่มหันลงข้างล่างไปในทางเดียวกับเขียว
#2 - แดงกับเขียวไปคนละทางกันอย่างชัดเจน
#1 จึงมีโอกาสทำกำไรมากกว่า #2
เส้นเหลืองเองก็ทำนองเดียวกันครับ และเพิ่มเติมนิดหน่อยว่าการเทรดออกไปจากเหลืองจะยิ่งมีโอกาสกำไรมากกว่า
ลองนำสิ่งที่เขียนไว้ข้างต้นมาวิเคราะห์กราฟนี้กันนะครับ
เส้นเหลืองกำลังวิ่งขึ้น ดังนั้นเราจะตัดสัญญาณ Sell ออก เหลือแต่สัญญาณ Buy 4 ครั้ง
1 กับ 2 อยู่ต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมาก จึงไม่ใช่สัญญาณ buy ที่ดี
3 กับ 4 ถือว่าเป็นสัญญาณที่ใช้ได้ เกิดใกล้ 50 และมีพื้นที่ให้วิ่งขึ้นข้างบนได้เหลือเฟือ
ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ
ทีนี้ลองกลับไปวิเคราะห์กราฟก่อนหน้านี้กัน
#1 สัญญาณ Buy แต่เกิดต่ำเกินไป เขียวมุมไม่สวย สวนทางเหลือง แม้ว่าแดงทำท่าจะหันตามมา แต่ตัดทิ้งดีกว่า
#2 สัญญาณ Sell ระดับถือว่าใช้ได้ มุมเขียวไม่เลว มีที่ให้วิ่งลงข้างล่าง แดงทำท่าจะหันตามมา แต่ยังสวนทางกับเหลือง อันนี้ผมถือว่า 50/50 ครับ ไม่ชัวร์ ถ้าเล่นเซฟก็ไม่ควรเข้า แล้วแต่เราตัดสินใจ
#3 สัญญาณ Buy คล้าย #1 เขียวทำมุมสวยกว่าหน่อย แต่ก็ตัดทิ้งครับ
#4 สัญญาณ Sell อันนี้สวยครับ ระดับไม่เลว มุมดี ทั้งเหลืองทั้งแดงต่างสนับสนุน Sell แน่นอน
#5 สัญญาณ Buy แต่อยู่ต่ำสุดๆ สวนทางทั้งเหลืองทั้งแดง ตัดทิ้งเช่นกัน
...
จะเห็นว่าด้วยการวิเคราะห์ TDI เพียงอย่างเดียว เราสามารถลดการขาดทุนจาก 4 ครั้ง เหลือ 0 (หรือ 1 ขึ้นอยู่กับเราจะเทรด #2 ไหม) ถือว่าไม่เลวเลยจริงไหมครับ
ในบทต่อไปเราจะมาดูสัญญาณส่วนที่ 2 ของ TMS กันครับ
Next > Part 3: Synergy Bar (Heikin Ashi)
Back > กลับไปหน้าสารบัญ
สัญญาณสวยไม่สวย ดูไม่ยากครับ ถ้าดูเป็นแล้วมองแว้บเดียวก็พอได้
![]() |
เส้นของ TDI เขียว แดง เหลือง |
![]() |
เขียวไขว้ลง = Sell |
![]() |
เขียวไขว้ขึ้น = Buy |
ทีนี้ถ้าเราเทรดทุกครั้งที่เขียวแดงไขว้กัน มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอครับ
เช่นในกราฟนี้ ไขว้กัน 5 ครั้ง กำไรครั้งเดียว ขาดทุนถึง 4
นี่แหละครับเราถึงต้องดูให้ออกว่าอันไหนคือไขว้สวย ไขว้ไม่สวย
ซึ่งก้าวแรก คือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า TDI กำลังบอกอะไรเรา
เข้าใจ TDI
TDI คิดค้นขึ้นโดย Dean Malone แห่ง Compass FX
Dean พัฒนา TDI ขึ้นมาจาก RSI เขาต้องการอินดี้ที่บอก 3 สิ่ง ได้แก่ Momentum, Trend และ Signal จึงออกมาเป็น เขียว (Momentum), เหลือง (Trend) และแดง (Signal) วิธีการคำนวณเป็นอย่างไรผมก็ไม่เคยศึกษานะครับหากสนใจคงต้องลองหากันเอง
Dean ทำวิดีโออธิบาย TDI ไว้เช่นกัน ลองไปดูได้ครับ คลิ๊กเมนู Traders Dynamic Index ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ 4 ทางซ้ายมือ โดยอย่าลืมว่าวิธีเทรดของเขาต่างกับ TMS
http://www.compassfx.com/synergy/webinar/Basic_Synergy_Method/Basic_Synergy_Method.html
อย่างแรกที่เราจะดูกัน ก็คือมุมของเส้นเขียว
อันนี้อาจจะหามาตรฐานยากสักหน่อย เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ตามขนาดหน้าต่างและระดับการซูมของเรา แต่ไอเดียคือ ยิ่งเส้นเขียวทำองศาขึ้น/ลงมาก ก็ยิ่งมีแรงส่งมาก ลองมองย้อนกลับไปแล้วเปรียบเทียบมุมดูครับ
![]() | |
เส้นเขียวด้านซ้าย มีหลายส่วนที่แบนราบ ในขณะที่ด้านขวาทำมุมลงข้างล่างมากกว่า |
ระดับของเส้นสีเขียว บ่งบอก Momentum ว่าราคามีแนวโน้มจะไปทางไหน
- ต่ำกว่า 50 = Momentum ขาลง
- สูงกว่า 50 = Momentum ขาขึ้น
แต่ถ้าเส้นสีเขียวออกห่างจากแนว 50 จนเกินไป จะเข้าโซน Overbought/Oversold
สมมุติเกิดการไขว้ขึ้นข้างบน เป็นสัญญาณ Buy ที่ระดับต่างๆ กั
1 - เส้นสีเขียวอยู่ต่ำมาก แปลว่า Momentum กำลังลง ดังนั้นจึงไม่ใช่สัญญาณ Buy ที่ดี
2 - เส้นสีเขียวตัดขึ้นหาแนว 50 มีพื้นที่เหลือเฟือกว่าจะถึง 68
3 - เส้นสีเขียวแม้จะอยู่เหนือ 50 แต่ก็สูงเกินไปจน overbought แล้ว
ดังนั้นสัญญาณที่ถือว่าสวย คือ 2 เท่านั้น ไม่ยากใช่ไหมครับ
นอกจากนั้นแล้ว เราสามารถใช้เส้นแดงและเหลืองมาช่วยเพิ่มโอกาสกำไรของเราได้
เริ่มจากเส้นแดงก่อน การเทรดไปในทิศทางเดียวกับแดงมีโอกาสสำเร็จมากกว่า
#1 - จะเห็นว่าแดงเริ่มหันลงข้างล่างไปในทางเดียวกับเขียว
#2 - แดงกับเขียวไปคนละทางกันอย่างชัดเจน
#1 จึงมีโอกาสทำกำไรมากกว่า #2
เส้นเหลืองเองก็ทำนองเดียวกันครับ และเพิ่มเติมนิดหน่อยว่าการเทรดออกไปจากเหลืองจะยิ่งมีโอกาสกำไรมากกว่า
ลองนำสิ่งที่เขียนไว้ข้างต้นมาวิเคราะห์กราฟนี้กันนะครับ
เส้นเหลืองกำลังวิ่งขึ้น ดังนั้นเราจะตัดสัญญาณ Sell ออก เหลือแต่สัญญาณ Buy 4 ครั้ง
1 กับ 2 อยู่ต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมาก จึงไม่ใช่สัญญาณ buy ที่ดี
3 กับ 4 ถือว่าเป็นสัญญาณที่ใช้ได้ เกิดใกล้ 50 และมีพื้นที่ให้วิ่งขึ้นข้างบนได้เหลือเฟือ
ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ
ทีนี้ลองกลับไปวิเคราะห์กราฟก่อนหน้านี้กัน
#1 สัญญาณ Buy แต่เกิดต่ำเกินไป เขียวมุมไม่สวย สวนทางเหลือง แม้ว่าแดงทำท่าจะหันตามมา แต่ตัดทิ้งดีกว่า
#2 สัญญาณ Sell ระดับถือว่าใช้ได้ มุมเขียวไม่เลว มีที่ให้วิ่งลงข้างล่าง แดงทำท่าจะหันตามมา แต่ยังสวนทางกับเหลือง อันนี้ผมถือว่า 50/50 ครับ ไม่ชัวร์ ถ้าเล่นเซฟก็ไม่ควรเข้า แล้วแต่เราตัดสินใจ
#3 สัญญาณ Buy คล้าย #1 เขียวทำมุมสวยกว่าหน่อย แต่ก็ตัดทิ้งครับ
#4 สัญญาณ Sell อันนี้สวยครับ ระดับไม่เลว มุมดี ทั้งเหลืองทั้งแดงต่างสนับสนุน Sell แน่นอน
#5 สัญญาณ Buy แต่อยู่ต่ำสุดๆ สวนทางทั้งเหลืองทั้งแดง ตัดทิ้งเช่นกัน
...
จะเห็นว่าด้วยการวิเคราะห์ TDI เพียงอย่างเดียว เราสามารถลดการขาดทุนจาก 4 ครั้ง เหลือ 0 (หรือ 1 ขึ้นอยู่กับเราจะเทรด #2 ไหม) ถือว่าไม่เลวเลยจริงไหมครับ
ในบทต่อไปเราจะมาดูสัญญาณส่วนที่ 2 ของ TMS กันครับ
Next > Part 3: Synergy Bar (Heikin Ashi)
Back > กลับไปหน้าสารบัญ
TMS Part 1: Set up
ก่อนอื่นโหลดอินดี้ที่ต้องใช้กันก่อนครับ
https://www.dropbox.com/sh/ezbt6dmcjpynbrs/AADsaYHcEyo0SNFGqweS7HCQa?dl=0
ไม่มีอะไรยากเลยครับเพราะ TMS แบบพื้นฐานสุดนั้น ใช้แค่ 2 อินดี้เท่านั้น
ผมใส่ template เอาไว้ให้ด้วย ใครจะเอาไปใช้แล้วข้ามบทความนี้ไปเลยก็ได้ครับ
- เปิด MT4
- Files > Open Data Folder
- ก็อปปี้ไฟล์ .tpl ไปไว้ที่ “template”
- ก็อปปี้ไฟล์ .mq4 .ex4 ไปไว้ที่ “MQL4 \ Indicators”
- restart MT4
เสร็จแล้วเปิดกราฟใหม่
- กด + เพื่อขยายกราฟสักหน่อย
- คลิกขวาตรงที่ว่างในกราฟแล้วเลือก Properties (หรือกด F8)
- ในแท็ป Common เอา Grid ออก และแสดงราคาแบบ Bar chart ไว้
- ในแท็ป Colors ปรับสีแท่งขึ้นเป็นขาว แท่งลงเป็นแดง (หรือขาวทั้งขึ้นทั้งลงก็ได้)
- ใส่ Indicator "TMS_Synergy" ค่าเดียวที่ตั้งได้ คือ Bar_Width (ความหนา) ผมชอบตั้ง 5
- ใส่ Indicator "TDI_RT" ไม่ต้องตั้งอะไร
ควรได้กราฟหน้าตาราวนี้
เสร็จแล้วครับ ซิมเปิ้ลจริงๆ
จะใส่อะไรเพิ่มเติมก็ตามอัธยาศัยครับ เพียงแต่อย่าใส่มากไปจนสัญญาณตีกันเองจนยิ่งงงกว่าเดิมนะครับ
ส่วนตัวผมจะใส่อินดี้บอกอย่างอื่นที่ไม่รบกวนสัญญาณ เช่น average daily range หรือ market hours
Next > Part 2: สัญญาณเข้าเทรด และ TDI
Back > กลับไปหน้าสารบัญ
https://www.dropbox.com/sh/ezbt6dmcjpynbrs/AADsaYHcEyo0SNFGqweS7HCQa?dl=0
ไม่มีอะไรยากเลยครับเพราะ TMS แบบพื้นฐานสุดนั้น ใช้แค่ 2 อินดี้เท่านั้น
ผมใส่ template เอาไว้ให้ด้วย ใครจะเอาไปใช้แล้วข้ามบทความนี้ไปเลยก็ได้ครับ
- เปิด MT4
- Files > Open Data Folder
- ก็อปปี้ไฟล์ .tpl ไปไว้ที่ “template”
- ก็อปปี้ไฟล์ .mq4 .ex4 ไปไว้ที่ “MQL4 \ Indicators”
- restart MT4
เสร็จแล้วเปิดกราฟใหม่
- กด + เพื่อขยายกราฟสักหน่อย
- คลิกขวาตรงที่ว่างในกราฟแล้วเลือก Properties (หรือกด F8)
- ในแท็ป Common เอา Grid ออก และแสดงราคาแบบ Bar chart ไว้
- ในแท็ป Colors ปรับสีแท่งขึ้นเป็นขาว แท่งลงเป็นแดง (หรือขาวทั้งขึ้นทั้งลงก็ได้)
- ใส่ Indicator "TMS_Synergy" ค่าเดียวที่ตั้งได้ คือ Bar_Width (ความหนา) ผมชอบตั้ง 5
- ใส่ Indicator "TDI_RT" ไม่ต้องตั้งอะไร
ควรได้กราฟหน้าตาราวนี้
เสร็จแล้วครับ ซิมเปิ้ลจริงๆ
จะใส่อะไรเพิ่มเติมก็ตามอัธยาศัยครับ เพียงแต่อย่าใส่มากไปจนสัญญาณตีกันเองจนยิ่งงงกว่าเดิมนะครับ
ส่วนตัวผมจะใส่อินดี้บอกอย่างอื่นที่ไม่รบกวนสัญญาณ เช่น average daily range หรือ market hours
Next > Part 2: สัญญาณเข้าเทรด และ TDI
Back > กลับไปหน้าสารบัญ
ระบบเทรดของผมในปัจจุบัน
ปัจจุบันผมมีการเทรดหลักๆ 3 ระบบ คือ Price Action, fundamentals และ TMS ซึ่งสิ่งที่ผมอยากจะพูดถึงในบทความนี้ก็คือ TMS ครับ
TMS หรือ Trading Made Simple เป็นระบบกระโดดขี่ Momentum เราไม่ได้หวังจับ pips จำนวนมาก แต่เพียงต้องการอาศัยแรงขับเคลื่อนที่เหลืออยู่ทำกำไรเท่านั้น
TMS พัฒนาขึ้นมาโดย Big E แห่ง Forex Factory น่าเสียใจที่ปัจจุบันเขาจากไปเสียแล้ว เขาทิ้งกระทู้ระบบเทรดไว้บน Forex Factory ซึ่งกลายเป็นกระทู้ไร้ทิศทาง สมาชิกแต่ละคนวิเคราะห์แตกต่างกันจนจับต้นชนปลายไม่ถูก
สิ่งที่ทำให้ผมชอบระบบ TMS ก็คือการที่เราสามารถมองกราฟแว้บเดียวก็บอกได้แล้วว่าสัญญาณสวยหรือไม่ น่าเทรดหรือไม่ หากไม่เกิดสัญญาณเราไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์อะไรเพิ่มเติมเลย
ซึ่งต่างกับ Price Action และ Fundamentals... 2 วิธีนี้ผมใช้เทรดมานาน แม้จะได้ผลดี แต่หลายๆ ครั้งต้องทนดู order ติดลบอยู่เป็นอาทิตย์ มีครั้งนึงผมเคยต้องติดลบอยู่ถึง 3 อาทิตย์ ว่ากันตรงๆ มันเครียดครับ แถมจะเทรดเพิ่มก็ไม่ได้ ไม่งั้น over trade
ซึ่งทำให้ผมชอบ TMS มากกว่า ผมสามารถปิด order ในเวลาไม่มากนักแล้วไปทำอย่างอื่นต่อ สัญญาณการเข้าก็เรียบง่ายไม่ต้องคิดวิเคราะห์หัวแตกอะไรนัก ทุกๆ ต้นชั่วโมงผมก็ดูกราฟทีว่ามีสัญญาณมั้ย... ถ้ามี มันสวยมั้ย ... ทั้งหมดนี้ผมใช้เวลากราฟละไม่ถึง 30 วินาทีเท่านั้น
ผมต้องออกปากไว้ก่อนว่าการเทรดไม่ใช่เรื่องง่าย ครับ... โอเคการวิเคราะห์สัญญาณของระบบนี้อาจจะง่ายจริง แต่จิตวิทยา, ทัศนคติ, money management และอารมณ์ที่ถูกต้องสำหรับการเทรดเหล่านี้ต่างหากที่ฝึกหัดได้ยากกว่ากันหลายเท่านัก
ทั้งนี้ทั้งนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ครอบคลุมถึงเรื่องเหล่านั้นนะครับ และขอนำเสนอเพียง TMS เท่านั้น :)
เริ่มจากมาเตรียมกราฟกันครับ
Next >> TMS Part 1: Set up
TMS หรือ Trading Made Simple เป็นระบบกระโดดขี่ Momentum เราไม่ได้หวังจับ pips จำนวนมาก แต่เพียงต้องการอาศัยแรงขับเคลื่อนที่เหลืออยู่ทำกำไรเท่านั้น
TMS พัฒนาขึ้นมาโดย Big E แห่ง Forex Factory น่าเสียใจที่ปัจจุบันเขาจากไปเสียแล้ว เขาทิ้งกระทู้ระบบเทรดไว้บน Forex Factory ซึ่งกลายเป็นกระทู้ไร้ทิศทาง สมาชิกแต่ละคนวิเคราะห์แตกต่างกันจนจับต้นชนปลายไม่ถูก
สิ่งที่ทำให้ผมชอบระบบ TMS ก็คือการที่เราสามารถมองกราฟแว้บเดียวก็บอกได้แล้วว่าสัญญาณสวยหรือไม่ น่าเทรดหรือไม่ หากไม่เกิดสัญญาณเราไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์อะไรเพิ่มเติมเลย
ซึ่งต่างกับ Price Action และ Fundamentals... 2 วิธีนี้ผมใช้เทรดมานาน แม้จะได้ผลดี แต่หลายๆ ครั้งต้องทนดู order ติดลบอยู่เป็นอาทิตย์ มีครั้งนึงผมเคยต้องติดลบอยู่ถึง 3 อาทิตย์ ว่ากันตรงๆ มันเครียดครับ แถมจะเทรดเพิ่มก็ไม่ได้ ไม่งั้น over trade
![]() |
Pin bar trade จากกราฟวัน ติดลบอยู่ 1 สัปดาห์เต็มๆ ก่อนจะวิ่งไป TP |
ซึ่งทำให้ผมชอบ TMS มากกว่า ผมสามารถปิด order ในเวลาไม่มากนักแล้วไปทำอย่างอื่นต่อ สัญญาณการเข้าก็เรียบง่ายไม่ต้องคิดวิเคราะห์หัวแตกอะไรนัก ทุกๆ ต้นชั่วโมงผมก็ดูกราฟทีว่ามีสัญญาณมั้ย... ถ้ามี มันสวยมั้ย ... ทั้งหมดนี้ผมใช้เวลากราฟละไม่ถึง 30 วินาทีเท่านั้น
ผมต้องออกปากไว้ก่อนว่าการเทรดไม่ใช่เรื่องง่าย ครับ... โอเคการวิเคราะห์สัญญาณของระบบนี้อาจจะง่ายจริง แต่จิตวิทยา, ทัศนคติ, money management และอารมณ์ที่ถูกต้องสำหรับการเทรดเหล่านี้ต่างหากที่ฝึกหัดได้ยากกว่ากันหลายเท่านัก
ทั้งนี้ทั้งนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ครอบคลุมถึงเรื่องเหล่านั้นนะครับ และขอนำเสนอเพียง TMS เท่านั้น :)
เริ่มจากมาเตรียมกราฟกันครับ
Next >> TMS Part 1: Set up
Subscribe to:
Posts (Atom)