Tuesday, November 04, 2014

TMS Part 5: TMA True

ใน Part 3 ผมเขียนเรื่องทิศทางที่ชัดเจนของกราฟไว้บ้างแล้ว
ในที่นี้เราจะมาดูการใช้เส้นกลาง TMA Mid Line เข้าช่วยในการตัดสินใจ

TMA Mid Line default จะมาเป็นเส้นประ
สิ่งที่เราสนใจดู คือราคาอยู่บน หรืออยู่ล่างเส้นนี้


โดยสิ่งที่ผมต้องการนั้น คือ
1. กราฟวิ่งทะลุไปด้านไปด้านหนึ่งก่อน
2. แล้วรอให้กราฟย้อนกลับมาหา Mid Line
3. แล้วจึงเข้าเทรด เมื่อกราฟเด้งออก ไปในทิศทางเดิม
ทั้งนี้ทั้งนั้น TDI ต้องไขว้ด้วยนะครับ


แต่ถ้าราคามันตัดกลับไปกลับมา แบบนี้ ผมจะไม่ยุ่งด้วย ผมไม่สนใจจะเสี่ยงจับ break out หรือ  reverse


ตัวอย่างครับ กราฟนี้ ผมถือว่าไม่มีทิศทางชัดเจน ราคาแกว่งไปมารอบๆ Mid Line
แม้จะมีการไขว้เกิดขึ้นผมก็ไม่สนใจ
ไขว้สวยซะด้วยนะครับ ระดับดี แดงเหลืองไปในทิศทางเดียวกัน


ผมจะรอ จนกว่าจะเกิด 1 คือ ราคาจะทะลุไปทิศทางใดทิศทางนึงอย่างชัดเจน


แล้วเกิด 2 ราคาย้อนกลับมาหาเส้นกลาง แล้วถึงจะรอเทรดเมื่อราคาเด้งออก
ไม่จำเป็นต้องกลางเป๊ะๆ อาจจะห่างด้านบนหน่อย หรือทะลุลงล่างหน่อย ไม่เป็นไร


อีกข้อหนึ่งที่เกริ่นไปหน่อย สัญญาณกลับตัว
ซึ่งก็มีวิธีเข้าของมันอยู่ แต่ผมถือว่าเป็นการเทรดที่ความเสี่ยงสูง
หากจะเล่นแบบปลอดภัย ก็อย่าสนใจมันจะดีกว่า

ตัวอย่างครับ
X 2 อันแรก เป็นการกลับตัว ข้ามไปแล้วรอให้ราคาแสดงทิศทางชัดเจนก่อนดีกว่า
X อันที่สาม แท่งสัญญาณมันเล็กจิ๋วเกินไป ไม่ควรเข้า
อันที่สวย คืออันสุดท้ายที่ผมมาร์กไว้เท่านั้น


มาดูตัวอย่าง เทรดบางส่วนของผมในเดือนตุลาคม
ลองสังเกตดูนะครับว่าตรงกับที่ผมอธิบายมาไหม



ก็มีเท่านี้ครับ หวังว่าจะมีประโยชน์ครับ :)

ยังไม่รู้ว่าจะมี Part 6 รึเปล่า ผมขอแปะเผื่อไว้ก่อนละกันครับ

Next> Part 6
Back> กลับหน้าสารบัญ

Tuesday, October 28, 2014

นาฬิกาปลุก ฟรี สำหรับ Windows



แนะนำโปรแกรมนาฬิกาปลุก ผมเทรดกราฟ 1 ชั่วโมง ก็ตั้งนกร้อง 1 นาทีก่อนขึ้นแท่งเทียนใหม่ครับ


http://freealarmclocksoftware.com/

Wednesday, October 22, 2014

เลือกโบรกเกอร์อย่างไรดี

ขอเรียงลำดับตามความสำคัญในมุมมองผมครับ

1.  หน่วยงานดูแล (Regulatory Compliance)

นี่เป็นสิ่งแรกเลยที่ทุกคนควรอ่านให้ดีก่อนตัดสินใจจะใช้โบรกเกอร์ไหน สิ่งที่มันบอกเรามีคีย์หลัก 2 เรื่อง

1.1 ความมั่นใจว่า ประเทศ ผู้ดูแลจะไม่ล้มละลาย เพราะหากประเทศล้มละลาย หนี้ทุกบาทและเงินลงทุนจากภายนอกทุกสตางค์ จะศูนย์หมดครับ ลองเซิช Sovereign Default ดูถ้าสนใจอ่านเพิ่มเติม

1.2 หากดูแลโดยหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน โบรกเกอร์จะไม่แตะต้องเงินของเรา

หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าเมื่อโอนเงินเข้าไปแล้ว บัญชีที่เก็บเงินนั้นๆ ไว้ จะเข้าถึงได้โดยตัวเราเองเท่านั้น เราฝากเอง ถอนเอง โบรกเกอร์ไม่มีสิทธิ์ถอนให้หรือนำเงินเราไปทำธุรกรรมใดทั้งสิ้น


ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง Oanda ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา
http://www.oanda.com/corp/story/regulatory

จากภาพ เราพอจะสรุปหน่วยงานที่ดูแล ในประเทศที่น่าเชื่อถือได้ดังนี้

อเมริกา - U.S. Commodity Futures Trading Commission หรือ CFTC
อังกฤษ - Financial Conduct Authority หรือ FCA
ออสเตรเลีย -  Australian Securities and Investment Commission หรือ ASIC
สิงคโปร์ - Monetary Authority of Singapore หรือ MAS
แคนาดา - Investment Industry Regulatory Organization of Canada หรือ IIROC
ญี่ปุ่น - โอกาสเปิดบัญชีกับญี่ปุ่นน่าจะน้อย ด้วยกำแพงภาษา

ตัวอย่าง Pepperstone และ FxPro ซึ่งผมใช้อยู่

Pepperstone
FxPro
การที่โบรกเกอร์ตั้งอยู่ในประเทศที่ดี ยังไม่พอนะครับ
สมมุติโบรกเกอร์ตั้งอยู่ออสเตรเลีย แต่ถ้าไม่ได้รับการ regulate
ก็ไม่ได้ต่างจากโบรกเกอร์เถื่อนที่ตั้งอยู่ในเกาะลึกลับกลางทะเล

ทีนี้ลองดูภาพนี้ครับ


CySEC เป็นของประเทศ Cyprus - http://www.cysec.gov.cy/licence_members_1_en.aspx

ซึ่งประเทศ Cyprus ถูกจัดอยู่ในระดับ Caa3 คือ คุณภาพต่ำ และสุ่มเสี่ยงมาก 
http://www.usatoday.com/story/money/business/2014/07/31/countries-near-bankruptcy/13435097/


หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ อย่าลืมครับเราต้องวางตัวเราให้เป็นนักลงทุน เป็นนักธุรกิจ ต้องให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือให้มาก เพื่อปกป้องเงินทุนของเราครับ

Friday, October 17, 2014

TMS Part 4: Exit Strategy

การเทรดแบบ TMS ไม่ได้ระบุการวาง SL/TP ไว้ชัดเจน เทรดเดอร์หลายๆ คนใช้วิธีแตกต่างกันออกไป ในที่นี้ผมขอแนะนำ 2-3 วิธีที่มีคนใช้กับ TMS ให้ลองเลือกไปใช้กันดู แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน บางอันอาจจับ pips ได้เยอะ แต่ก็อาจเสียเยอะ บางอันจับ pips ได้น้อยแต่ไม่ค่อยเสีย


สิ่งสำคัญคือ ความสม่ำเสมอ ครับ ถ้าเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในระยะยาวผมเชื่อว่าผลได้-เสียจะเฉลี่ยๆ ออกมาไม่ต่างกัน  

1. Trail Stop Last Bar


เป็นวิธีของ Dean Malon
เมื่อเกิดสัญญาณ เขาจะวาง SL ไว้หลังแท่งสัญญาณ
เมื่อขึ้นแท่งเทียนใหม่ เขาจะเลื่อน stop ตามหลังแท่งเทียนอันก่อนล่าสุดไปเรื่อยๆ



ข้อดีคือมีโอกาสจับ move ยาวๆ ได้ แต่ถ้ามันวิ่งยาวแล้วกลับตัวในแท่งเดียวนี่ก็แย่หน่อย อาจจะอดหมด

ปกติผมจะ Trail แบบนี้ควบคู่กับวาง TP ด้วย

2. TDI Exit


เป็นวิธีของ Big E เขาจะปิดออเดอร์เมื่อ TDI เขียวหักมุมกลับไปอีกทาง

Big E ไม่สนใจ SL นัก เขาตั้งไว้ 50-100 pips เผื่อฉุกเฉินเท่านั้น


ส่วนตัวผมไม่ได้ใช้วิธีนี้

3. S/R Exit


เป็นวิธีที่ผมคุ้นเคยที่สุดจากการเทรด Price Action และ Fundamentals คือลองมองไปทางซ้ายมือว่ามีแนวรับแนวต้านอะไรไหมแล้ววาง TP ไว้แนวเดียวกัน

S/R = Support/Resistance แนวรับแนวต้าน ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร ลอง google ดูนะครับ

ใช้ปลายแท่งทางซ้ายเป็น S/R
ทำนองเดียวกัน ใช้ S/R จากด้านซ้ายมือ

ผมไม่ได้มีหลักเกณฑ์เป๊ะๆ ว่าต้องวางตรงหาง ตรงหัว แต่อย่างใด แค่มองผ่านๆ แล้วกะคร่าวๆ เอาเท่านั้น เช่นตัวอย่างนี้ มองแว้บเดียวก็จะเห็นว่ามีแนวเป้าหมายที่เป็นไปได้ 2 แนว ซึ่งเราจะเลือกใช้แนวไหนก็ขึ้นอยู่กับเรา


โดยส่วนตัวผมอยากปิดออเดอร์เร็วๆ จะได้ไปทำอย่างอื่น ก็จะวาง TP ไว้ที่แนวเขียวครับ

4. TMA True


เป็นวิธีที่ก๊วน TMS ผมใช้กัน โหลดอินดี้ได้จากที่นี่

https://www.dropbox.com/s/qvws12f4hcecmfe/TmaTrue.mq4?dl=0

โดยตั้ง eint Half Length = 40 และจะปรับ multiplier ให้เหมาะสม

ภาพนี้ multiplier = 2.0 ซึ่งเป็นค่า default ถ้าเราจะ  buy ส่วนสีเหลืองดูเป็นเป้าหมายที่ดี จริงไหมครับ

ในกรณีนี้ผมจะลอง ปรับ modifier ดู จาก 2 เป็น 1.75 ... เป็น 1.50 ... จนมาแตะพอดีที่ 1.2
ซึ่งการเอากำไร คือจุดที่ราคากลับมาแตะ TMA เส้นบนนั่นเอง



ลืมไปอันนึงขอเพิ่มเติม

5. Fixed Target


เป็นวิธีที่ฮิตมากในกระทู้ TMS บน FOREX Factory ซึ่งการตั้งก็จะขึ้นอยู่กับอันตราการเคลื่อนไหวของคู่นั้นๆ

ถ้าเป็นคู่ที่ขยับไม่มาก อย่าง EURUSD อาจจะอยู่ที่ 30 pips
ถ้าเป็นคู่ขยับมาก อาจตั้งได้ตั้งแต่ 50 ถึง 100 เช่น GBPNZD

...
...


คร่าวๆ ก็ตามนี้ครับ :) โดยส่วนตัวผมจะใช้ 1, 3 และ 4 รวมกันครับ

ลำดับต่อไป มาดูการใช้ TMA เพิ่มเติมดีกว่าครับ เพราะเป็นวิธีหลักที่ก๊วนผมใช้อยู่ เลยคิดว่าพูดถึงอีกหน่อยก็น่าจะดี

Next > Part 5: TMA True
Back > สารบัญ


Thursday, October 09, 2014

TMS Part 3: Synergy Bar (Heikin Ashi)

Heikin Ashi หรือย่อว่า HA แปลว่า แท่งเฉลี่ย เนื่องจากเป็นภาษาญี่ปุ่น (平均足) ผมเลยเดาเอาเองนะว่าคงมีต้นกำเนิดมากจากทางโน้น หลักการทำงานคล้ายๆ MA คือมีการหารเฉลี่ยค่าต่างๆ จากแท่งเทียนหลายแท่ง เพียงแต่จะไม่ได้ลากเป็นกราฟ แต่สร้างเป็นแท่งทับกราฟไปเลย

ในนี้มีสูตรคำนวณอยู่สำหรับผู้สนใจ
http://en.wikipedia.org/wiki/Candlestick_chart#Heikin_Ashi_candlesticks


HA นั้นยังมีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อ เผื่อไปเห็นที่อื่นจะได้ไม่งงนะครับว่าคืออันเดียวกัน ได้แก่

1. Synergy Bar... Synergy เป็นชื่อระบบเทรดของ Dean Malone เฮียแกก็เลยเรียกมันว่างั้นซะเลย และ
2. Average Price Bar หรือ APB


เวลาที่เราวาง Heikin Ashi ลงไปบนกราฟ มันจะวาดแท่งใหม่ทับของเดิมที่อยู่ข้างใต้ เป็นเหตุผลนึงที่ผมชอบใช้ Bar Chart เพราะมันจะมีหัวเล็กๆ ยื่นออกมาบอกจุดเปิด-ปิดแท่งได้


สำหรับ TMS นั้น เราจะใช้วิธีการ นับแท่งเมื่อเปลี่ยนสี ครับ ตัวอย่าง


เมื่อแท่งเปลี่ยนสี ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนทิศทาง และแน่นอนว่าเราอยากเข้าเทรดตั้งแต่แท่งแรกๆ โดยมีข้อควรระวังดังนี้

- คล้ายๆ TDI คือตอนแท่งยังไม่ปิด มันเปลี่ยนสีได้  จึงควรรอให้แท่ง 1 ปิดเสียก่อนเพื่อคอนเฟิร์มสี
- เราอยากเข้าเทรดเมื่อ เปิดแท่ง 2 ไม่เกินนั้น... โดยในบางกรณีพออนุโลมให้เข้าแท่ง 3 อันนี้ต้องว่าเป็นกรณีๆ ไป
- บางทฤษฎีบอกว่าถ้าแท่งมันเล็กเกินไป หรือเป็น Doji เขาจะไม่นับ... อันนี้แล้วแต่พิจารณาครับ

ตัวอย่าง

จากซ้ายไปขวา

 - เมื่อ ฟ้า1 ปิด เขียวก็ไขว้แดงแล้วเรียบร้อย (CLOSE cross) ถ้าเราจะเทรด เราจะเข้าที่ วง1 แต่อย่างที่เห็นว่าการไขว้นั้นเกิดต่ำมาก เราอาจจะข้ามเทรดนี้ไป
- เมื่อแดง1 ปิด ยังไม่มีการไขว้กันเกิดขึ้น

--- การไขว้แบบ CLOSE เกิดหลังแดง2 ถ้าเราเทรด เราจะเปิดเทรดที่แดง3 ซึ่งถือว่าไม่ดี
--- หรืออาจจะเกิดการไขว้แบบ OPEN ที่ต้นแดง2 ... แบบนี้เราก็จะเข้าขายเมื่อเริ่ม แดง2 ได้เช่นกันเพราะ TDI ดูดีทุกอย่าง

น่าเสียดายที่เราไม่สามารถดู history OPEN cross ได้ จึงต้องใช้จินตนาการนิดนึงครับ

เรื่องต่อมาก็คือทิศทางที่ชัดเจน ระหว่างที่กราฟติดแหง่กแบบนี้ ไม่ควรเทรด


เราควรรอให้กราฟแสดงทิศทางให้เราเสียก่อน อย่าไปคิดเสียดาย break out ครับ ปล่อยมันไป ตัวอย่าง


#1 ในช่วงนั้นเป็นแท่งเล็กๆ วิ่งด้านข้าง มุมเขียวก็แบนมาก อย่าเพิ่งเทรด
#2 ราคาเริ่มแสดงทิศทางลงข้างล่าง ไม่มีการไขว้ อย่าเพิ่งเทรด
#3 คือสิ่งที่เรารออยู่ สัญญาณ CLOSE เมื่อปิดแดง1 ทิศเดียวกับที่กราฟแสดงให้เราดู

....
....

ดังนี้ TDI และ HA เมื่อใช้ร่วมกัน คือสัญญาณหลักของระบบ TMS

แต่เนื่องจากในระบบนี้ไม่ได้มี exit strategy กำหนดไว้ตายตัว ในส่วนต่อไปเราจะมาดูทางเลือกของเรากันนะครับ

สิ่งสำคัญ คือ ถ้าเราเลือก exit strategy อย่างใดอย่างนึงแล้ว พยายามอย่าไปเปลี่ยนครับ ความสม่ำเสมอคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าเราจะเทรดระบบใดก็ตาม

Next > Part 4: Exit Strategy
กลับไปหน้าสารบัญ

Saturday, October 04, 2014

TMS Part 2: สัญญาณเปิดเทรด

การวิเคราะห์ด้วยระบบ TMS นั้น เริ่มต้นด้วยการมองหาการไขว้กันของเขียวและแดง เมื่อแท่งเทียนปิด ถ้ามีการไขว้กันสวยๆ เกิดขึ้น เราค่อยพิจารณาสิ่งอื่นๆ แต่ถ้าไม่ไขว้ หรือไขว้ไม่สวย เราก็ข้ามกราฟนั้นไปได้

สัญญาณสวยไม่สวย ดูไม่ยากครับ ถ้าดูเป็นแล้วมองแว้บเดียวก็พอได้

เส้นของ TDI เขียว แดง เหลือง
การเทรด เราจะเทรดในทิศทางเดียวกับเขียว

เขียวไขว้ลง = Sell
เขียวไขว้ขึ้น = Buy
ที่ต้องระวังคือ ระหว่างที่แท่งเทียนยังไม่ปิด TDI ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการพิจารณาสัญญาณ จึงควรรอให้แท่งเทียนปิดเสียก่อน

ทีนี้ถ้าเราเทรดทุกครั้งที่เขียวแดงไขว้กัน มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอครับ
เช่นในกราฟนี้ ไขว้กัน 5 ครั้ง กำไรครั้งเดียว ขาดทุนถึง 4
 

นี่แหละครับเราถึงต้องดูให้ออกว่าอันไหนคือไขว้สวย ไขว้ไม่สวย
ซึ่งก้าวแรก คือเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า TDI กำลังบอกอะไรเรา

เข้าใจ TDI


TDI คิดค้นขึ้นโดย Dean Malone แห่ง Compass FX

Dean พัฒนา TDI ขึ้นมาจาก RSI เขาต้องการอินดี้ที่บอก 3 สิ่ง ได้แก่ Momentum, Trend และ Signal จึงออกมาเป็น เขียว (Momentum), เหลือง (Trend) และแดง (Signal) วิธีการคำนวณเป็นอย่างไรผมก็ไม่เคยศึกษานะครับหากสนใจคงต้องลองหากันเอง

Dean ทำวิดีโออธิบาย TDI ไว้เช่นกัน ลองไปดูได้ครับ คลิ๊กเมนู Traders Dynamic Index ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ 4 ทางซ้ายมือ โดยอย่าลืมว่าวิธีเทรดของเขาต่างกับ TMS
http://www.compassfx.com/synergy/webinar/Basic_Synergy_Method/Basic_Synergy_Method.html

อย่างแรกที่เราจะดูกัน ก็คือมุมของเส้นเขียว

อันนี้อาจจะหามาตรฐานยากสักหน่อย เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ตามขนาดหน้าต่างและระดับการซูมของเรา แต่ไอเดียคือ ยิ่งเส้นเขียวทำองศาขึ้น/ลงมาก ก็ยิ่งมีแรงส่งมาก ลองมองย้อนกลับไปแล้วเปรียบเทียบมุมดูครับ

เส้นเขียวด้านซ้าย มีหลายส่วนที่แบนราบ ในขณะที่ด้านขวาทำมุมลงข้างล่างมากกว่า
ต่อมาคือระดับ 32, 50 และ 68 ใครใช้ อินดี้ TDI_RT ที่ผมให้ไว้ จะมีวางเส้นประไว้แล้ว


ระดับของเส้นสีเขียว บ่งบอก Momentum ว่าราคามีแนวโน้มจะไปทางไหน
- ต่ำกว่า 50 = Momentum ขาลง
- สูงกว่า 50 = Momentum ขาขึ้น
แต่ถ้าเส้นสีเขียวออกห่างจากแนว 50 จนเกินไป จะเข้าโซน Overbought/Oversold


ลองมาดูตัวอย่างกันครับว่าความรู้ข้างต้นบอกอะไรเราได้
สมมุติเกิดการไขว้ขึ้นข้างบน เป็นสัญญาณ Buy ที่ระดับต่างๆ กั


1 - เส้นสีเขียวอยู่ต่ำมาก แปลว่า Momentum กำลังลง ดังนั้นจึงไม่ใช่สัญญาณ Buy ที่ดี
2 - เส้นสีเขียวตัดขึ้นหาแนว 50 มีพื้นที่เหลือเฟือกว่าจะถึง 68
3 - เส้นสีเขียวแม้จะอยู่เหนือ 50 แต่ก็สูงเกินไปจน overbought แล้ว

ดังนั้นสัญญาณที่ถือว่าสวย คือ 2 เท่านั้น ไม่ยากใช่ไหมครับ

นอกจากนั้นแล้ว เราสามารถใช้เส้นแดงและเหลืองมาช่วยเพิ่มโอกาสกำไรของเราได้

เริ่มจากเส้นแดงก่อน การเทรดไปในทิศทางเดียวกับแดงมีโอกาสสำเร็จมากกว่า


#1 - จะเห็นว่าแดงเริ่มหันลงข้างล่างไปในทางเดียวกับเขียว
#2 - แดงกับเขียวไปคนละทางกันอย่างชัดเจน

#1 จึงมีโอกาสทำกำไรมากกว่า #2

เส้นเหลืองเองก็ทำนองเดียวกันครับ และเพิ่มเติมนิดหน่อยว่าการเทรดออกไปจากเหลืองจะยิ่งมีโอกาสกำไรมากกว่า

ลองนำสิ่งที่เขียนไว้ข้างต้นมาวิเคราะห์กราฟนี้กันนะครับ


เส้นเหลืองกำลังวิ่งขึ้น ดังนั้นเราจะตัดสัญญาณ Sell ออก เหลือแต่สัญญาณ Buy 4 ครั้ง
1 กับ 2 อยู่ต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมาก จึงไม่ใช่สัญญาณ buy ที่ดี
3 กับ 4 ถือว่าเป็นสัญญาณที่ใช้ได้ เกิดใกล้ 50 และมีพื้นที่ให้วิ่งขึ้นข้างบนได้เหลือเฟือ

ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ


ทีนี้ลองกลับไปวิเคราะห์กราฟก่อนหน้านี้กัน

#1 สัญญาณ Buy แต่เกิดต่ำเกินไป เขียวมุมไม่สวย สวนทางเหลือง แม้ว่าแดงทำท่าจะหันตามมา แต่ตัดทิ้งดีกว่า

#2 สัญญาณ Sell ระดับถือว่าใช้ได้ มุมเขียวไม่เลว มีที่ให้วิ่งลงข้างล่าง แดงทำท่าจะหันตามมา แต่ยังสวนทางกับเหลือง อันนี้ผมถือว่า 50/50 ครับ ไม่ชัวร์ ถ้าเล่นเซฟก็ไม่ควรเข้า แล้วแต่เราตัดสินใจ

#3 สัญญาณ Buy คล้าย #1 เขียวทำมุมสวยกว่าหน่อย แต่ก็ตัดทิ้งครับ

#4 สัญญาณ Sell อันนี้สวยครับ ระดับไม่เลว มุมดี ทั้งเหลืองทั้งแดงต่างสนับสนุน Sell แน่นอน

#5 สัญญาณ Buy แต่อยู่ต่ำสุดๆ สวนทางทั้งเหลืองทั้งแดง ตัดทิ้งเช่นกัน

...

จะเห็นว่าด้วยการวิเคราะห์ TDI เพียงอย่างเดียว เราสามารถลดการขาดทุนจาก 4 ครั้ง เหลือ 0  (หรือ 1 ขึ้นอยู่กับเราจะเทรด #2 ไหม) ถือว่าไม่เลวเลยจริงไหมครับ

ในบทต่อไปเราจะมาดูสัญญาณส่วนที่ 2 ของ TMS กันครับ

Next > Part 3: Synergy Bar (Heikin Ashi)
Back > กลับไปหน้าสารบัญ

TMS Part 1: Set up

ก่อนอื่นโหลดอินดี้ที่ต้องใช้กันก่อนครับ

https://www.dropbox.com/sh/ezbt6dmcjpynbrs/AADsaYHcEyo0SNFGqweS7HCQa?dl=0

ไม่มีอะไรยากเลยครับเพราะ TMS แบบพื้นฐานสุดนั้น ใช้แค่ 2 อินดี้เท่านั้น
ผมใส่ template เอาไว้ให้ด้วย ใครจะเอาไปใช้แล้วข้ามบทความนี้ไปเลยก็ได้ครับ

- เปิด MT4
- Files > Open Data Folder
- ก็อปปี้ไฟล์ .tpl ไปไว้ที่ “template”
- ก็อปปี้ไฟล์ .mq4 .ex4 ไปไว้ที่ “MQL4 \ Indicators”
- restart MT4

เสร็จแล้วเปิดกราฟใหม่


- กด + เพื่อขยายกราฟสักหน่อย
- คลิกขวาตรงที่ว่างในกราฟแล้วเลือก Properties (หรือกด F8)
- ในแท็ป Common เอา Grid ออก และแสดงราคาแบบ Bar chart ไว้
- ในแท็ป Colors ปรับสีแท่งขึ้นเป็นขาว แท่งลงเป็นแดง (หรือขาวทั้งขึ้นทั้งลงก็ได้)


- ใส่ Indicator "TMS_Synergy" ค่าเดียวที่ตั้งได้ คือ Bar_Width (ความหนา) ผมชอบตั้ง 5
- ใส่ Indicator "TDI_RT" ไม่ต้องตั้งอะไร


ควรได้กราฟหน้าตาราวนี้


เสร็จแล้วครับ ซิมเปิ้ลจริงๆ

จะใส่อะไรเพิ่มเติมก็ตามอัธยาศัยครับ เพียงแต่อย่าใส่มากไปจนสัญญาณตีกันเองจนยิ่งงงกว่าเดิมนะครับ

ส่วนตัวผมจะใส่อินดี้บอกอย่างอื่นที่ไม่รบกวนสัญญาณ เช่น average daily range หรือ market hours

Next > Part 2: สัญญาณเข้าเทรด และ TDI 
Back > กลับไปหน้าสารบัญ



ระบบเทรดของผมในปัจจุบัน

ปัจจุบันผมมีการเทรดหลักๆ 3 ระบบ คือ Price Action, fundamentals และ TMS ซึ่งสิ่งที่ผมอยากจะพูดถึงในบทความนี้ก็คือ TMS ครับ

TMS หรือ Trading Made Simple เป็นระบบกระโดดขี่ Momentum เราไม่ได้หวังจับ pips จำนวนมาก แต่เพียงต้องการอาศัยแรงขับเคลื่อนที่เหลืออยู่ทำกำไรเท่านั้น

TMS พัฒนาขึ้นมาโดย Big E แห่ง Forex Factory น่าเสียใจที่ปัจจุบันเขาจากไปเสียแล้ว เขาทิ้งกระทู้ระบบเทรดไว้บน Forex Factory ซึ่งกลายเป็นกระทู้ไร้ทิศทาง สมาชิกแต่ละคนวิเคราะห์แตกต่างกันจนจับต้นชนปลายไม่ถูก


สิ่งที่ทำให้ผมชอบระบบ TMS ก็คือการที่เราสามารถมองกราฟแว้บเดียวก็บอกได้แล้วว่าสัญญาณสวยหรือไม่ น่าเทรดหรือไม่ หากไม่เกิดสัญญาณเราไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์อะไรเพิ่มเติมเลย

ซึ่งต่างกับ Price Action และ Fundamentals... 2 วิธีนี้ผมใช้เทรดมานาน แม้จะได้ผลดี แต่หลายๆ ครั้งต้องทนดู order ติดลบอยู่เป็นอาทิตย์ มีครั้งนึงผมเคยต้องติดลบอยู่ถึง 3 อาทิตย์ ว่ากันตรงๆ มันเครียดครับ แถมจะเทรดเพิ่มก็ไม่ได้ ไม่งั้น over trade

Pin bar trade จากกราฟวัน ติดลบอยู่ 1 สัปดาห์เต็มๆ ก่อนจะวิ่งไป TP

ซึ่งทำให้ผมชอบ TMS มากกว่า ผมสามารถปิด order ในเวลาไม่มากนักแล้วไปทำอย่างอื่นต่อ สัญญาณการเข้าก็เรียบง่ายไม่ต้องคิดวิเคราะห์หัวแตกอะไรนัก ทุกๆ ต้นชั่วโมงผมก็ดูกราฟทีว่ามีสัญญาณมั้ย... ถ้ามี มันสวยมั้ย ... ทั้งหมดนี้ผมใช้เวลากราฟละไม่ถึง 30 วินาทีเท่านั้น

ผมต้องออกปากไว้ก่อนว่าการเทรดไม่ใช่เรื่องง่าย ครับ... โอเคการวิเคราะห์สัญญาณของระบบนี้อาจจะง่ายจริง แต่จิตวิทยา, ทัศนคติ, money management และอารมณ์ที่ถูกต้องสำหรับการเทรดเหล่านี้ต่างหากที่ฝึกหัดได้ยากกว่ากันหลายเท่านัก

ทั้งนี้ทั้งนั้นในบทความนี้ผมจะไม่ครอบคลุมถึงเรื่องเหล่านั้นนะครับ และขอนำเสนอเพียง TMS เท่านั้น :)

เริ่มจากมาเตรียมกราฟกันครับ

Next >> TMS Part 1: Set up

Wednesday, January 08, 2014

กว่าจะเป็นเทรดเดอร์ - 5 Steps to Become a Trader

5 Steps to Become a Trader เป็นบทความสั้นๆ บอกเล่าพัฒนาการทางจิตวิทยาที่ผู้เล่น Forex ส่วนใหญ่มักจะต้องประสบ ซึ่งตอนเข้าสู่ตลาด Forex ใหม่ๆ ผมก็เคยอ่านแล้วแต่ไม่ได้ติดใจอะไร จนกระทั่งอยู่ในตลาดมาเป็นปีแล้วนั้นแหละ พอได้อ่านอีกรอบถึงรู้สึกว่า มันตรงจริงๆ

ไม่มีใครรู้ว่าเจ้าของบทความเป็นใคร แต่ผู้ที่นำมาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกัน คือ Dial แห่ง Forex Factory

http://www.forexfactory.com/showthread.php?t=3156

บทความนี้มีแปลไทยมาหลายรอบแล้ว แต่ผมอยากแปลโดยใส่ความเข้าใจของผมเองเข้าไปด้วยนะครับ


ใครสนใจอ่านบทแปลตามต้นฉบับแบบไม่มีดัดแปลง ลองอ่านได้ -ที่นี่

 

ระยะที่ 1 - ง่ายจัง รวยเร็ว ลงทุนเลยดีกว่า!!


ต้นฉบับใช้คำว่า Unconscious Incompetence แปลง่ายๆ คือ ไม่รู้ตัวว่าเทรดไม่เป็น

ความประทับใจแรกพบ (ผิดๆ) ของทุกคนที่เริ่มรู้จักกับ Forex ก็คือ... มัน ง่าย!

ก็จริงไหมล่ะ กราฟมันวิ่งได้แค่ 2 ทางเท่านั้นเอง คือขึ้นกับลง จะไปยากอะไร? ความประทับใจดังกล่าวมีแต่จะยิ่งถูกตอกย้ำจากเรื่องเล่าต่างๆ เช่น เศรษฐีเงินล้านรวยจาก Forex มั่งล่ะ เพิ่มเงินลงทุนเป็นเท่าตัวมั่งล่ะ ... ซ้ำร้ายกว่านั้น พอคุณลองเล่น Demo ก็ฟลุคๆ ได้กำไรเสียอีก

คุณเริ่มคิดว่า นี่แหละคือเส้นทางสู่อิสระภาพทางการเงินของเรา เทรดเดอร์มือใหม่จึงมักกระโจนเข้าสู่ตลาดจริงทันทีเพราะอยากรีบทำเงิน ไม่อยากเสียโอกาสทำกำไร

แต่อนิจจา มันก็เหมือนคนเดินดินธรรมดา ที่จู่ๆ ก็ลำพองใจกระโดดขึ้นเวทีชกกับบัวขาวนั่นแหละ

คุณเทรดไม่หยุด นั่งเฝ้าหน้าคอม 24 ชั่วโมง อิสระภาพที่คุณนึกฝันไม่เหลือแม้แต่เงา พอแทงขาลงกราฟก็วิ่งขึ้น เปลี่ยนมาแทงขาขึ้นกราฟก็ดันวิ่งลง พอฟลุ๊กๆ แทงถูกทางก็ยิ่งตอกย้ำลงในสมองเราว่า มัน ง่าย จริงๆ ด้วย! ทำให้ยิ่งแทงหนัก เสี่ยงหนักเข้าไปอีก

ผมใช้คำว่า "แทง" เพราะในระยะนี้ เราเล่น Forex แบบ เล่นพนัน จริงๆ ยิ่งเสียยิ่งแทงมากขึ้นเป็นทวีคูณ หวังว่าชนะทีเดียวจะคืนทุนได้หมด พอพอร์ตเริ่มร่อยหรอก็แทงหมดตัว... ลงเอยอย่างไรเป็นที่รู้กัน


แน่นอน คุณลงจากสังเวียนอย่างสะบักสะบอม ทั้งจิตใจทั้งกระเป๋าเงินชอกช้ำไม่มีชิ้นดี ... คนส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะเข้าสู่ระยะต่อไป

 

 ระยะที่ 2 - เรามันอ่อนหัดเหลือเกิน!!


พอแพ้น็อคไม่เป็นท่าจากยกแรก หลายๆ คนจึงตาสว่างว่าตลาด Forex มีอะไรมากกว่าที่คิด
... คุณรู้ตัวแล้ว ว่าคุณเทรดไม่เป็น!

(อีกส่วนหนึ่งจะคิดว่า Forex คือการแทงหวยชัดๆ และเลิกเล่นไป)

เมื่อคิดได้เช่นนี้ ก็เป็นธรรมดาที่จะเริ่มศึกษาหาความรู้ คุณอ่านทุกอย่าง เวบ หนังสือ บทความ e-book ทั้งร่วมงานสัมนา จ่ายเงินเรียน ฯลฯ

คุณเริ่มเรียนรู้ระบบเทรดและนำระบบหลายตัวมาทดลองใช้ คุณเริ่มใช้ Indicator (อินดี้) เริ่มตื่นเต้นเมื่อค้นพบระบบหรืออินดี้ใหม่ๆ บางระบบคุณถึงกับควักกระเป๋าซื้อ คุณพยายามซื้อที่จุดต่ำสุดและขายที่จุดสูงสูงโดยใช้อินดี้มากมายเข้าช่วยหาจุดกลับตัว พอราคาไม่วิ่งไปในทางที่คิดคุณเริ่มหัวฟัดหัวเหวี่ยงและยิ่งเปิดเทรดสะเปะสะปะมากขึ้น และผมเชื่อว่าแทบทุกคนจะต้องเคยลองเทรดด้วยบ็อทอัตโนมัติ (EA) มาแล้วทั้งนั้น... แต่ก็ไม่เป็นผล

คุณเริ่มถามคำถามมากมายกับเทรดเดอร์ผู้ประสบความสำเร็จ พวกเขาแนะคุณเรื่องจิตวิทยาและการบริหารความเสี่ยง แต่คุณไม่สน คุณไม่ได้อยากฟังเรื่องไร้สาระพวกนั้น คุณอยากรู้วิธีทำกำไรต่างหาก... บางคนอาจลอง copy trade ตามมืออาชีพ หรือกระทั่งจ่ายเงินซื้อสัญญาณเข้าออกจากหลายๆ เซอร์วิส

หลายคนดวงซวยยิ่งกว่าเมื่อเจอนักต้มตุ๋นในคราบกูรู พาคุณเทรดไปด้วยกันจนหมดเนื้อหมดตัวกันเป็นแถว

หลายคนถึงกับคิด ว่า ผู้ที่กำไรจาก Forex เป็นเรื่องโกหก ไม่มีทางทำได้จริง!  ... ทว่า คุณก็ยังเห็นพอร์ตของผู้มีประสบการณ์เติบโตต่อไป ในขณะที่ของพอร์ตคุณหดเล็กลง เล็กลง

นี่เป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุด อาจกินเวลาได้ตั้งแต่ 2-3 เดือนจนถึง 2-3 ปี...
- เทรดเดอร์ 80% ล้มหายตายจากไปในระยะนี้
- 60% เลิกไปใน 3 เดือนแรก
- อีก 20% เลิกไปใน 1-2 ปี
- เหลือเพียง 20% เท่านั้นที่ยังคงดั้นด้นไม่ยอมแพ้

หลายคนเสียเงินเรียนมากมาย บางคนล้างพอร์ตหลายพอร์ต บางคนอาจเลิกไปแล้วกลับมาใหม่ถึง 3-4 รอบ ความเครียด ความสับสน ความไม่เข้าใจ มีแต่จะทับถมมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่แล้ววันหนึ่ง อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย... คุณก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3


ระยะที่ 3 - จู่ๆ ก็เข้าใจ...


คำแนะนำที่คุณเมิน ไม่สนใจ  อยู่ๆ คุณก็รับฟังมันขึ้นมาเฉยๆ อาจเพราะมันค่อยๆ ซึมซับลงในสมองคุณก็ได้ ... 

คุณเริ่มเข้าใจว่าระบบไม่จำเป็นต้องซับซ้อนเลย อาจจะมีอินดี้แค่ตัวเดียวก็ทำกำไรได้

คุณเริ่มเห็นความสำคัญ ของการบริหารความเสี่ยงและบริหารเงินทุน

คุณเริ่มอ่านและศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการเทรด แทนที่จะมุศึกษาแต่การวิเคราะห์กราฟ

คุณเริ่มยอมรับความจริง ว่า ไม่มีใครรู้อนาคต จริงอยู่เราอาจจะคาดเดาทิศทางได้ แต่มันไม่มีทางถูก 100% เราไม่รู้ ไม่มีทางรู้

จากที่เคยเปลี่ยนระบบสลับไปสลับมา คุณเริ่มใช้เพียงระบบเดียวที่ตรงใจคุณที่สุด และขัดเกลาปรับปรุงจนเหมาะกับนิสัยและการเทรดของคุณเอง

คุณเริ่มกำหนดกฏเกณฑ์และวางวินัยในการเปิดออเดอร์ สามารถตัดใจได้เมื่อเห็นสัญญาณซื้อขายที่ไม่ได้คุณภาพ คุณรู้ว่าระบบของคุณทำกำไรในระยะยาวได้แน่ๆ คุณเริ่มเข้าใจว่าเทรดจะติดลบบ้างไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือภาพรวมต่างหาก

กฏเกณฑ์และวินัยคือเกราะป้องกันตัว ในขณะที่ความสม่ำเสมอและระเบียบวินัยคืออาวุธของเรา ในตลาด Forex


ระยะที่ 4 - ทำตามกฏที่ตั้งไว้อย่างเข้มงวด


ถึงจุดนี้ คุณรู้ตัวแล้วว่าคุณมีความรู้ความสามารถเพียงพอ รู้ว่าระบบของคุณทำกำไรได้

ความมั่นใจตรงนี้ทำให้คุณเทรดได้อย่างวางใจมากขึ้น สามารถเก็บกำไรและตัด Stoploss ได้โดยไม่เอาอารมณ์หรือความรู้สึกมาเกี่ยว

คุณยังคงขัดเกลาระบบ จิตวิทยา และความสามารถของตัวเองต่อไป และยิ่งสั่งสมประสบการณ์ แนวโน้มการทำกำไรของคุณก็ยิ่งมากขึ้น

เพียงไม่ถึงปีเท่านั้นคุณก็จะเข้าสู่ระยะต่อไป


ระยะที่ 5 - การเทรด กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน


คุณเทรดได้โดยไม่ต้องนึกถึงมันเลย

เหมือนคนว่ายน้ำเป็น กระโดดลงน้ำก็ลอยตัวได้โดยไม่ต้องคิด
เหมือนคนขับรถเป็น สตาร์ทรถแล้วก็ขับได้โดยสัญชาติญาณ

สิ่งที่เรียนรู้มาได้หล่อหลอมซึมซับจนเป็นกิจวัตรไปแล้ว การเทรดไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอะไรอีกต่อไป ตรงกันข้าม อาจกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อเสียด้วยซ้ำ มันก็แค่การทำงานหาเงินอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง จะเทรดได้เทรดเสียก็ไม่ทำให้คุณรู้สึกยินดียินร้ายแต่อย่างใด

คุณกลายเป็นผู้มีประสบการณ์ มีผู้เลื่อมใส มีผู้นับถือ มีน้องๆ ถามคำถาม คุณให้คำแนะนำแก่รุ่นน้องอย่างจริงใจ แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าพวกเขาไม่ฟัง คุณรู้ เพราะคุณเคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว

ฝีมือ สายตา และระบบของคุณยังคงเหมือนเดิม และพัฒนาขึ้น พัฒนาขึ้น เรื่อยๆ

จุดนี้แหละครับ ที่ถือว่า คุณ เป็นเทรดเดอร์มืออาชีพแล้ว

----------------------------------------------------------------------------------------

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับ บางคนอาจเคยผ่านช่วงเวลาเหล่านี้มาแล้วกับตัว

สิ่งที่จะลืมไม่ได้ คือ ผู้ที่เข้าสู่ตลาด Forex มีไม่ถึง 5% เท่านั้นที่จะฝ่าฟันมาถึงระยะที่ 5 ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่ความเก่งครับ แต่เป็นทัศนะคติและมุมมองมากกว่า

Forex ไม่ใช่ รวยเร็ว
Forex ที่ประสบความสำเร็จ ต้อง รวยช้า ครับ

ขอบคุณครับ